วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เรียนภาษาอังกฤษจากเพลง!!!

การฟังเพลงภาษาอังกฤษ มีประโยชน์ + ความบันเทิงด้วย สามารถช่วยคนที่อยากจะพัฒนาภาษาอังกฤษ และยังไม่ค่อยได้ฟังเพลงภาษาอังกฤษมากนัก ให้มาลองฟังกันดู
1.ขั้นแรกต้องพยายามฟัง + แกะเนื้อเพลงให้ได้ ต้องฟังให้ได้ว่าร้องว่าอะไรบ้าง (ไม่ถึงขนาดต้องเขียนออกมา แค่นึกๆในสมองดูก็ได้)
2.ต่อมาก็หาเนื้อเพลงมา ก็ลองอ่าน เจอศัพท์คำไหนไม่รู้จักก็เปิด
3.พยายามจำพวกสำนวน พวก Idiomatic expression - จำจากเพลงจะทำให้เราจำง่ายขึ้น
4.จับให้ได้ว่า คำศัพท์ที่เราเจออยู่ มักใช้ใน Context ไหน - จะทำให้เราได้ sense ของคำ
5.ถ้ามีคำไหนไม่เข้าใจก็ลองถามผู้รู้ที่อยู่รอบตัวดู หรือ หรือหาความรู้เพิ่มเติมดู
6.สุดท้ายก็คือ Check Grammar และคำศัพท์ ว่าเนื้อเพลงที่เราหามานั้นถูกรึเปล่า เพราะเนื้อเพลงอาจจะพิมพ์ผิดก็ได้
บางคนอาจจะเถียงว่าถ้าเนื้อเพลงพิมพ์ผิดแบบนี้อย่าไปเรียนจากเนื้อเพลงดีกว่าเดี๋ยวจะได้ความรู้ผิดๆ อันนี้ก็จริงค่ะยอมรับ แต่อย่าลืมนะคะว่าในโลกจริงๆ ในบทความ ความคิดเห็นต่างๆ ก็อาจจะมีพิมพ์ผิดได้ ทั้งแกรมม่า และก็ คำศัพท์ ดังนั้นถ้าคำไหนสะดุดๆ ก็ลอง Check จากแหล่งอื่นดูนะคะ
จะเห็นได้ว่าหากทำตามข้างบนจะช่วยเพิ่มทักษะทั้งการฟัง การอ่าน Grammar Vocab และการทำข้อสอบerror ด้วย ถ้าใครอยากได้ pronunciation ก็ร้องตามไปเลยสำเนียงคนร้องดีอยู่แล้ว
เคล็ดลับอีกอย่างคือ เพลงภาษาอังกฤษ อยากให้ฟังเพลงที่ฝรั่งจริงๆ ร้อง หรือ คนที่สำเนียงถูกต้องจริงๆร้อง
ลองมาดูตัวอย่างกันนะคะ
เพลง All out of love (Feat. Delta Goodrem) ของ WESTLIFE เป็นเพลงรักหวานๆ

I'm lying alone with my head on the phone
Thinking of you till it hurts
I know you hurt too but what else can we do
Tormented and torn apart
I wish I could carry your smile and my heart
For times when my life seems so low
It would make me believe what tomorrow could bring
When today doesn't really know, doesn't really know

[Chorus:]
I 'm all out of love, I'm so lost without you
I know you were right believing for so long
I 'm all out of love, what am I without you
I can't be too late to say that I was so wrong

I want you to come back and carry me home
Away from this long lonely nights
I'm reaching for you, are you feeling it too
Does the feeling seem oh so right
And what would you say if I called on you now
And said that I can't hold on
There's no easy way, it gets harder each day
Please love me or I'll be gone, I'll be gone

ลองมาดูวิธีการเรียนจากเพลงภาษาอังกฤษกันดูนะคะ

LYRIC : "All Out Of Love" - - - -> แปลได้ประมาณว่าความรักของฉันได้จากไปแล้ว ,
ความรักของฉันได้หมดไปแล้ว(เมื่อไม่มีคุณ)
หรือจะแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า the love is gone
หรือ I've run out of love
หรือ I've got no love to spare

I'm lying alone with my head on the phone - - - -> เป็นcontinuous tense

Thinking of you till it hurts - - - -> เป็น participial construction แบบ active voice
    - - - -> ส่วน hurt ที่เติมs เพราะ hurt ในที่นี้เป็น verb ที่ตามหลัง it ใน
                ประโยค present simple tense
  * hurt เป็นได้ทั้ง noun verb และ adjective Hurt ที่เป็นnoun นั้นมีทั้งที่เป็น countable noun และ Uncountable noun
I know you hurt too but what else can we do - - - -> ทำให้รู้ว่า หลัง but ตามด้วย what ได้

Tormented and torn apart - - - -> torment เป็น noun แปลว่าความทุกข์ทรมาน Torn เป็น ช่อง3 ของ
Tear ซึ่งtear apart มีทั้ง 1.Tear someone apart = ทำให้someone  
รู้สึกไม่มีความสุข 2. tear something apart = ทำให้กลุ่ม หรือ องค์กร เริ่มมีปัญหา

I wish I could carry your smile and my heart - - - -> ความรู้เรื่อง wish

For times when my life seems so low - - - -> ทำให้รู้ว่า time เติม s ได้**

It would make me believe what tomorrow could bring - - - -> จำว่า make someone believe

When today doesn't really know, doesn't really know

[Chorus:]

I 'm all out of love, I'm so lost without you - - - -> เตือนความจำได้ว่า หลัง without ต้องตามด้วย
noun หรืออย่างอื่นที่มีแทนกันได้คือ verb+ing หรือ pronoun (ในที่นี้ you เป็น pronoun )

I know you were right believing for so long - - - -> right ในที่นี้เป็น adjective
- - - -> “ believing for so long” เป็น                
             Participial construction
I 'm all out of love, what am I without you - - - -> = ความรักของฉันได้จากไปแล้ว ละฉันจะมีชีวิตเป็นเช่นไร

I can't be too late to say that I was so wrong

I want you to come back and carry me home - - - -> ได้ idiomatic expression คือ carry someone
    home

Away from these long lonely nights
I'm reaching for you, are you feeling it too
Does the feeling seem oh so right

And what would you say if I called on you now - - - -> call on someone มีสองความหมายคือ
      1.ขอร้อง 2. ไปเยี่ยม แต่น่าจะแปลว่า ไป
                     เยี่ยม (ไปหา) นะเพราะดูจากท่อนต่อไปคือ
And said that I can't hold on
There's no easy way, it gets harder each day

Please love me or I'll be gone, I'll be gone - - - -> gone อันนี้ไม่ใช่ verb ช่อง 3 แต่เป็น adjective
ถ้าถามว่ารู้ได้ยังไงก็ check จาก Grammar

*-*ลองฝึกกันดูนะคะ*-*

เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skill)

การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)  ในการออกเสียง  ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
                (1)  Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
             - นักเรียนฝึกอ่านเอง
             - สุ่มนักเรียนอ่าน
(2)  Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่  เช่น ครูเรียก Chain-number One  นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51  จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด  ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3)  Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4)  Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5)  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2  การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ  อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด  เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ  หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย  หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น  กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน  แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ  กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้  ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ  เช่น  การฟัง  หรือ  การเขียน  อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน  ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
- Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)
- Supplying / Identifying   คือ  อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic  Sentence)  หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion)  หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)  หรือ ย่อเรื่อง (Summary)  หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific  Information)
3)  กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน  ทั้งการฟัง  การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว  โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์  สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้  ความถูกต้องของคำศัพท์  สำนวน  โครงสร้างไวยากรณ์  หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น  หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นต้น
3.    บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น  จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน  ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี  จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)  
                           1. ทักษะการอ่าน
                           2. การอ่านออกเสียง
                           3. การอ่านในใจ
                           4. กิจกรรมในการสอนอ่าน
                           5. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
                           6. กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
                           7. กิจกรรมหลังการอ่าน  (Post-Reading)

วิธีการเขียน Essay

น้องๆหลายคนอาจจะเคยสงสัย ว่าที่เพื่อนๆเขาพูดถึงการเขียน Essay เนี่ย จริงๆแล้วเจ้า Essay เขามีหน้าตาเป็นอย่างไร และจะเขียนกันไปเพื่ออะไรนะ โอ๊ะ!! ไม่ต้องทำหน้ายุ่งคิ้วผูกโบว์อย่างนั้นค่ะน้องๆ วันนี้พี่ๆชาวเก่งดีจะมาช่วยไขปัญหาข้องใจให้น้องๆเอง ตามพี่ๆมาเลยจ้า
จริงๆแล้วหากจะเรียกกันแบบไทยแท้แต่โบราณให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ เจ้า Essay (เอส-เส) เนี่ย ก็คือเรียงความหรือบทความเราดีๆนี่เองละค่ะ เพียงแต่ว่าต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น น้องๆบางโรงเรียนอาจจะโชคดีกว่าเพื่อนๆหน่อย เพราะว่ามีโอกาสได้เรียนการเขียน Essay ตั้งแต่อยู่ในชั้นมัธยม แต่อีกหลายๆโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนส่วนใหญ่ของประเทศไทย จะยังไม่มีโอกาสได้เรียนการเขียน Essay ในชั้นนี้ แต่ไม่ต้องน้อยใจไปนะคะ ยังไงเวลาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย น้องๆจะได้เรียนเขียน Essay ในวิชาภาษาอังกฤษแน่นอนค่ะ เอาเป็นว่าวันนี้พี่ๆชาวเก่งดีจะมาพูดถึงการเขียน Essay ให้น้องๆได้ทราบไว้ เป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนได้เรียนจริงละกันนะคะ
Essay คือ เรียงความหรือบทความซึ่งเขียนโดยใช้ภาษาอังกฤษ มีรายละเอียดน่ารู้ในการเขียน ดังนี้ค่ะ
ขั้นตอนในการเขียน Essay
1. Planning : เมื่อทราบหัวข้อในการเขียน Essay แล้ว ขั้นตอนแรก คือ การจัดระบบความคิด กำหนดกรอบเนื้อหา โดยต้องตัดสินใจว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง และพูดอย่างไร โดยเนื้อหาที่คิดว่าจะพูดเหล่านั้น ต้องไปด้วยกันได้และไม่หลงประเด็นออกนอกเรื่องนะคะ
2. Drafting : ขั้นตอนที่สอง ต้องนำกรอบเนื้อหาที่ตัดสินใจว่าจะเขียนจากในข้อ 1 มาลองร่างดูให้เกิดเป็นเค้าโครงคร่าวๆของ Essay ขึ้น โดยมีการเรียงลำดับให้เค้าโครงเนื้อหาเหล่านั้นดูกลมกลืนลื่นไหล ไม่กระโดดไปกระโดดมาค่ะ
3. Writing : ขั้นตอนที่สามอันสำคัญยิ่ง คือ การลงมือเขียน Essay ตามที่ได้ร่างเอาไว้ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆของ Essay จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไปนะคะ
4. Editing : ขั้นตอนที่สี่ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นตอนที่สาม เนื่องจากเป็นขั้นตอนของการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตรวจทานให้ Essay ที่เราเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด พร้อมที่จะออกไปสู่สายตาประชาชนได้อย่างเต็มภาคภูมิค่ะ
โครงสร้างของ Essay
1. Introduction : เป็นย่อหน้าแรกของ Essay ใช้ในการเปิดเรื่อง Introduction ที่ดี ควรจะสามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากจะอ่าน Essay ของเราต่อจนจบ โดยภายใน Introduction มี Thesis Statement ซึ่งเป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวอะไร หรือพูดอีกอย่างก็ คือ เป็นประโยคที่บอก Main Idea ของ Essay นั่นเอง
2. Body : ย่อหน้าถัดไปของ Essay เป็นส่วนของเนื้อหาที่เราต้องการจะกล่าวเพื่อสนับสนุน Thesis Statement หรือ Main Idea ของเรา โดย Body ของ Essay จะมีเหตุผลสนับสนุนอยู่ 3 ข้อ เสมอ เป็นประเพณีนิยมของการเขียน Essay ค่ะ
2.1 Supporting Idea 1 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 1 การเขียนจะเริ่มด้วยประโยคสรุปใจความสำคัญ (Topic Sentence) จากนั้นจึงอธิบายเหตุผลสนับสนุนนั้นๆให้เข้าใจชัดเจน และอาจมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจ
2.2 Supporting Idea 2 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 2 วิธีการเขียนเช่นเดียวกับ เหตุผลสนับสนุนข้อ 1
2.3 Supporting Idea 3 : เหตุผลสนับสนุนข้อ 3 วิธีการเขียนเช่นเดียวกับ เหตุผลสนับสนุนข้อ 1 โดย Supporting Idea ทั้ง 3 ข้อ จะต้องมีเอกภาพ (Unity) พูดไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุน Main Idea ใน Thesis Statement ที่กล่าวในย่อหน้าแรก และต้องเรียง Supporting Idea ทั้ง 3 ข้อ ตามลำดับให้กลมกลืนเหมาะสม อ่านแล้วไม่สะดุดนะคะ
3. Conclusion : ย่อหน้าสุดท้ายของ Essay เป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด โดย Conclusion ที่ดีควรเน้นย้ำ Thesis Statement หรือ Main Idea ให้เกิดความชัดเจนในใจของผู้อ่าน ไม่เขียนออกนอกเรื่อง และอย่าลืมที่จะทิ้งท้ายให้เกิดความประทับใจค่ะ
ข้อควรรู้เพิ่มเติม
ในการเขียน Essay น้องๆควรใช้คำเชื่อม (Transition) ต่างๆ อาทิเช่น however, therefore, moreover, then, while, from then on, on the other hand, etc. มาช่วยในการเรียงต่อแต่ละประโยคเข้าด้วยกันเป็นย่อหน้านะคะ เนื่องจากหากน้องๆนำแต่ละประโยคมาเรียงต่อกันโดยตรงจะทำให้เป็น Essay ที่อ่านแล้วเนื้อความแข็งไม่สละสลวยเท่าที่ควร การใช้คำเชื่อมจะช่วยให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมกับเนื้อหาของ Essay มากขึ้น และสามารถคาดการณ์ทิศทางของเนื้อหาใน Essay ได้ก่อน จากคำเชื่อมระหว่างประโยค ว่าเนื้อหาจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหาของ Essay ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
สิ่งที่ต้องตรวจแก้ในขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน Essay
1. เนื้อหาน่าสนใจ อ่านง่าย อ่านเข้าใจ ไม่หลงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง
2. การเรียงลำดับประโยค การเชื่อมประโยคกลมกลืนลื่นไหลและเหมาะสม ไม่กระโดด ไม่สะดุด
3. ใช้ Vocabulary เหมาะสมกับประโยคและเนื้อหาโดยรวม ไม่ใช้คำผิดระดับ เช่น การนำ Vocabulary แบบเป็นทางการ มาใช้ใน Essay ที่พูดเกี่ยวกับเรื่องสบายๆเป็นกันเอง
4. ใช้ Grammar ถูกต้อง โดยตรวจเช็คการใช้ Tense, Subject and Verb Agreement, Article และ Spelling ให้ถูกต้องตามหลักการ
5. อย่าลืมอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ให้ข้อมูลด้วยนะคะ

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร - Presentation Transcript

  1. ภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร ระดับมัธยมศึกษา
  2. การบอกทิศทาง   ( Asking for Directions ) ในการบอกทิศทางนั้น ต้องคำนึงถึงความถูกต้องของเส้นทางและการเดินทางที่สะดวกเพื่อให้ผู้ที่ถามนั้นไม่สับสน หรือหลงเส้นทาง เลือกใช้ประโยคที่กระชับและเหมาะสม   สำนวนการถามทิศทางที่นิยมใช้มีดังนี้ Excuse me, can  you  tell  me  how  to  get  to museum, please? ขอโทษครับ กรุณาบอกทาง ไปที่พิพิธภัณฑ์ หน่อยครับ Could you tell me the way to supermarket, please? กรุณาช่วยบอกทางไปห้างสรรพสินค้าหน่อยครับ Excuse me, can / could you give me direction to university, please? ขอโทษครับ กรุณาช่วยบอกทิศทางไปมหาวิทยาลัยหน่อยครับ นอกจากนี้ยังมีสำนวนอื่นๆ อีก เช่น การบอกทิศทาง 
  3. Can / could   you tell me where ...   is? Can / could you direct me to ..... , please? Excuse me . I’m looking for ..... . Is this the way to ..... ? เป็นสำนวนในกรณีที่ผู้ถามต้องการถามเพื่อให้แน่ใจว่า กำลังเดินไปตามทิศทางที่ถูกต้อง   เช่น Is the way to company? นี่เป็นทางไปบริษัทใช่ไหมครับ ส่วนในการบอกทิศทางนั้น   ก็มีหลายกรณี ขึ้นอยู่กับผู้บอกเส้นทาง ว่ าต้องการข้อมูลการเดินทางวิธีใด หรือมีข้อมูลใดอยู่แล้ว   เช่น การบอกระยะทางว่า ..... อยู่ห่างแค่ไหน เช่น           It’s about a mile from here .   ประมาณหนึ่งไมล์จากตรงนี้  
  4. 2 .   บอกเส้นทางโดยใช้รถประจำทาง เช่น   Take a number 21 bus .   That will take you past museum . And then you get off at university .     ขึ้นรถประจำทางหมายเลข 21 คุณจะผ่านพิพิธภัณฑ์ หลังจากนั้น คุณลงรถที่มหาวิทยาลัย     สำนวนที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้รถประจำทาง   ขึ้นรถ    =  Take / catch / get on   ลงรถ    =  Get off   หมายเลขรถ   =  Bus number ..... / A number .....   Bus   ป้ายรถเมล์   =  Bus stop   รถแล่นผ่านอะไรบ้าง   =  It will take you past .....   ค่าโดยสาร   =  Fare
  5. 3 .   บอกเส้นทางโดยให้เดินไป Go  straight  ahead  until  you  come  to  the  traffic  lights,  then  turn  right .    เดินตรงไปข้างหน้า จนถึงสัญญาณไฟจราจร จากนั้นก็เลี้ยวขวา It’s about a ten - minute walk .    เดินไปประมาณ 10 นาที สำนวนที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบอกทิศทาง   - บอกจุดเริ่มต้น   =  When you go out of ..... / Start from ..... -  เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา   =  Turn left / turn right at the next corner .   - ข้ามถนน   =  Cross over Orange Road .   - เดินตรงไป   =  Go straight .      -Go straight ahead .   -  Walk along the road .  4 .   บอกเส้นทางโดยใช้รถแท็กซี่   เช่น   You can catch a taxi . It’ll take you there in 10 minutes .   คุณสามารถเรียกแท็กซี่ จะใช้เวลาเดินทาง 10 นาที
  6. การไปซื้อของหรือ go shopping เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เป็น กิจวัตรประจำวันทั่วไป   ในบางครั้ง เมื่อเราไปซื้อของแล้วสินค้าที่ซื้อไปเกิดปัญหา เช่น ซื้อเสื้อไปแล้วแต่อาจตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป   ก็สามารถนำไปเปลี่ยนได้   ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างบทสนทนาเกี่ยวกับการไปคืนสินค้าเพื่อขอเปลี่ยนเป็นชิ้นใหม่ Mrs . S :   Excuse me, can you help me? Shop Assistant :  Yes, of course . What can I do for you? Mrs . S :   I bought this T - shirt for my son this afternoon, but it doesn’t fit him, it’s too small . Shop Assistant :  Do you want to change it or get a refund. Mrs . S :   I’d like to change it for a larger size . Do you have this in large? ต่อ  การไปซี้อของ
  7. Shop Assistant :    I’ll just check . Let’s see . Yes, we have large or extra large, Which would you prefer? Mrs . S :   I think large will be fine . Shop Assistant :  That’s fine . Could you show me a receipt, please? Mrs . S :   Here you are . Shop Assistant :  Thank you .
  8. การทักทาย ( Greeting ) เป็นบทสนทนาบทแรกที่เรามักใช้อยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ก่อนที่จะเริ่มพูดคุยเรื่องต่างๆ    ในบางครั้งนอกจากเราจะสนทนากับเพื่อนหรือคนรู้จักแล้ว ยังอาจได้มีโอกาสสนทนากับบุคคลอื่นที่เป็นเพื่อนหรือคนรู้จักของคู่สนทนาของเราอีกด้วย จึงขอยกบทสนทนาต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง   A :  Hello, Somsak. How are you?   B :  I am fine, thanks, and what about you, Manit?   A :  Very well, thanks. Glad to see you again. Well, I would like to introduce my friend. This is Thanaphon.   B :  How do you do?  C :  How do you do? It?s nice to meet you. Are you a friend of Manit? B :  Yes, we studied the same school, and we play badminton together.    Are you Manit?s friend at university? ต่อ  การทักทายกัน
  9. C :  No, he is my colleague at my old office, but we always contact. A :  Thanaphon and I will go swimming at the swimming pool on Sunday. Would you like to come with us ?  B :  I would like to go but I can?t. I have to meet my friends on Sunday. A :  It?s unfortunate. It?s been nice talking to you. See you later. Good-bye.  B :  Goodbye.
  10.   จากบทสนทนาดังกล่าว จะพบว่ามีผู้สนทนาจำนวน 3 คน คือ A, B และ C   โดย A และ B รู้จักกันมาก่อน จึงใช้คำทักทายที่ค่อนข้างเป็นกันเอง คือ Hello .   How are you? ในขณะที่ B และ C เพิ่งมาพบกันเป็นครั้งแรก จึงใช้คำทักทายที่เป็นทางการว่า How do you do? It’s nice to meet you . นอกจากคำทักทายดังกล่าวแล้ว ยังมีคำทักทายอื่นๆ ที่เราสามารถใช้ทักทายได้อีก เช่น How?s life? How?s it going? How are things (going)? How are you doing? What?s up? โดยอาจใช้คำตอบรับดังนี้ How nice to see you . Not too bad . O . K . / All right . So - so .   ขอให้ผู้เรียนจดจำสำนวนต่างๆและฝึกพูดเพื่อให้เกิดความชำนาญในการสนทนา
  11. Goodbye See you again

ไม่แปลกที่บางคู่อาจทะเลาะกันทั้งวัน

Not strange if you see some of them have all day
(ไม่แปลกที่บางคู่อาจทะเลาะกันทั้งวัน)

- Not strange if you see some of them always sweet…
- And not strange if some of them are cold and distant to each other.
- And it’s normal if you see some of them have too much different love.
- seeming the sky and the land.

- ไม่แปลกที่บางคู่อาจทะเลาะกันทั้งวัน
- ไม่แปลกที่บางคู่อาจหวานให้แก่กันได้ทั้งวัน
- และไม่แปลกที่บางคู่ต่างเฉยชาต่อกัน
- และก็คงไม่แปลกเลยที่บางคู่อาจต่างกันราวฟ้ากับดิน


- You're not wrong to love him.
- And, it’s not also his wrong, if he doesn't love you back.
- By the way, you're not wrong if you don't love him.
- And not his wrong if he loves you.
- Forbid heart from falling in love is hard to do.
- But... It's not comparable with Forbid heart to forget love, because it's so hard to do.

คุณไม่ผิดที่ไปรักเขาคนนั้น
และเขาเองก็คงไม่ผิดที่ไม่ได้รักคุณ
ในทางตรงข้าม คุณไม่ผิดที่ไม่ได้รักเขาคนนั้น
และเขาก็ไม่ผิดที่มารักคุณเช่นกัน
การห้ามใจไม่ให้รักนั้นยากนัก
แต่คงเทียบไม่ได้กับการห้ามใจให้ลืมรักเพราะย่อมยากกว่า